วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พัดลมแอร์

  • คลายน็อตยึด"แผ่นปิดมอเตอร์แอร์" และถอดแผ่นปิดฯ ออกเก็บไว้
  • ถอด "ขั้วต่อสายไฟ" ในจุด [ A ] ซึ่งเป็นสายสัญญาณควบคุมจากชุด Air ECU ออก
  • ถอดน็อตล็อกตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" ในจุด [ B, B', B" ] ทั้ง 3 จุดออกและถอดตัมอเตอร์ฯ ออกมา
  • สัญญาณต่าง ๆ บน "ขั้วต่อสายไฟ"
  1. [1] = วัดอุณหภูมิ
  2. [2] = สาย Ground
  3. [3] = สายสัญญาณควบคุมการทำงานของวงจร
  4. [4] = สายไฟบวก 12V จากสวิตช์กุญแจ
  • ในจุด [ C ] จะเป็นรอยใหม้ที่เกิดจากความร้อนสะสมของตัวนำ( สายไฟ, ขั้วต่อ ) เมื่อมีกระแสไฟสูงไหลผ่าน
  • ในจุด [ A, B ] เป็นร่องรอยการตัดต่อหรือแปลงระบบแอร์ในรถผมครับ


  • ใช้ไขควงแบน สอดเข้าไปในช่อง [ A ] เพื่องัดและดันให้ ลูกยางที่ใช้ในการยึดตัวมอเตอร์ หลุดออกจากล็อก มีด้วยกัน 3 จุด พร้อมกับดึงตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" ออกจากโครง

  • ถอดลูกยางที่ใช้ยึดกับตัวโครง ในจุด [ B ] ซึ่ง มีอยู่ 3 ตัวออกมา
  • ถอดชุดยึดตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" ในจุด [ A ] ออกมาจากตัวมอเตอร์ฯ

- ในรูป [ A, A', A" ] เป็นชุดลูกยาง ที่ถอดออกมา มี 3 ตัว
-
ในรูป [ B, B' ] เป็นชุดยึดตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" มี 2ตัว

  • ใช้ไขควงแบน งัดตัวล็อกสปริงกดแปรงถ่านออกมาในจุด [ A ] และ [ B ] แล้วเก็บไว้


  • นำตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" ไปร้อนซ่อมมอเตอร์ เพื่อทำการเปลี่ยน "คอมมิวเตเตอร์" ในจุด [ B ] ซึ่งในรถผมมันสึกหรอมากแล้ว เหลือกอีกนิดเดียวก็หมด ตามรูป [ B' ]

  • ถอดเปลี่ยนแปลงถ่าน อันใหม่แทนอันเดิมในจุด [ A ] และ [ A' ] และก็ประกอบชุดล็อกสปริงกดแปรงถ่านให้เข้า ที่เดิม
  • ตรวจสอบความเรียบร้อย ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ ก็ลองจ่ายไฟ 12V เข้าที่ ขั้วบวก และ ลบของมอเตอร์ตัวมอเตอร์ต้องหมุนได้ตามเดิมและไม่มีเสียงผิดปกติออกมา

  • ตำแหน่งต่าง ๆ ของขั้วต่อสัญญาณ

-[ A ] ขั้วต่อ สายไฟไปเข้า "ขั้วลบ" หรือ [ -M ] ของตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์"
-[ B ]
ขัวต่อ สายไฟไปเข้า "ขั้วบวก" หรือ [ +M ] ของตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์"
-[ C ]
ขั้วต่อ สายไฟจากชุดคุม AIR ECU
( 1 ) Temp Sensor =
วัดอุณหภูมิ ในขณะทำงานของชุด "ควบคุม"
( 2 ) Power Ground =
กราว์ดไฟ
( 3 ) TDRV =
สัญญาณควบคุมการทำงานของวงจร
( 4 ) Power Supply =
ไฟเลี้ยงวงจรและไฟที่จะจ่ายให้กับตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์"


  • คลายน็อตล็อก "ชุดควบคุม" ในจุด [ A ] และ [ B ]
  • ล้างทำความสะอาด ชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้สะอาด...ผมล้างด้วยน้ำผสมผงซักฟอก + แปรงขัด และล้างด้วยน้ำสะอาด ตากลมให้แล้ง และพ่นสเปร์ WD-40 บาง ๆ เคลือบอีกทีครับ

ถ้าจะซ่อมหรือรื้อแผงวงจร "ชุดควบคุม"
  • ใช้สว่านดอกขนาด 4-6 มม. จะลงไปในจุด [ A, B ,C, D ] ลึกลงไปพอให้หัวยั้มหมุด หลุดออกมาได้
  • ใช้สว่านดอกขนาด 4-6 มม. จะลงไปในจุด [ G, H ] ลึกลงไปพอให้หัวยั้มหมุด หลุดออกมาได้ และถอดแผงวงจรออกมาได้
  • ใช้หัวแร้งและที่ดูดตะกั่ว เอาตะกั่วในจุด [ A' ] และ [ B' ] ออก เพื่อจะได้ถอดตัว ทราสซิสเตอร์ ( Transistor )ออกมา


  • ในจุด [ E ] จะเป็นชุดวัดอุณหภูมิ ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันครับ
  • ในจุด [ F ] จะเป็น Relay กระแสสูงผมไม่ได้เปลี่ยนตัวนี้ เนื่องจาก รถผมมีการแปลงระบบมาแล้ว และไม่ได้ใช้เลย ไม่ได้ทำอะไรกับมัน...ถ้าจะเปลี่ยนผมว่าก็น่าจะหาของได้ ลองดูที่ www.es.co.th
ในจุด [ A ] จะเป็นชุดวัดอุณหภูมิ
-
ในรูป [ B ] จะเป็นชุด เพาเวอร์ทราสซีสเตอร์ PNP ตัวถังแบบ TO-3 ( จานบิน ) ตรวจสอบดูว่าเสียหรือยัง หรือจะ
เปลี่ยนตัวใหม่ก็ได้...ถ้าหาเบอร์ตรงไม่ได้ก็หาเบอร์ที่มีคุณสมบัติเทียบเคียงมาแทนก็ได้ ......ส่วนเบอร์เทียบของ ทรานซิสเตอร์ เป็นเบอร์ MJ2955 [ VCD=60V, IC=-15A ] ( 21B., www.es.co.th ) จะใช้ได้หรือเปล่า ดูแล้ว spec.ใกล้เคียงกัน.
  • ตรวจสอบดู รอบบัดกรีในแผงวงจร โดยเฉพาะในจุด [ C ] ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของ "ขั้วต่อ" จะมีการหลุดร่อนของตะกั่ว ก็ใช้ใช้หัวแร้งเพิ่มตะกั่วเข้าไปใหม่ก็ใช้ได้ครับ



...เมื่อทุกอย่างถูกตรวจสอบและแก้ไขแล้ว...

  • ประกอบแผงวงจรกลับเข้าที่เดิม...ในจุด [A] และ [ A'] ผมจะใช้น็อตขนาด M3 ยึดตัวเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ แทนหมุด
  • ในจุด [ B ] ตอนถอดผมงัดเล่น ตัวกด Sensor มันเลยหัก...ผมใช้เส้นลวดรัดจากด้านบนแล้วก็บัดกรีตะกั่วยึดให้เข้าที่เหมือนเดิม
  • ประกอบชุดยึดตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" มี 2 ตัว เข้ากับตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์ "
  • ประกอบชุดลูกยาง ที่ถอดออกมา มี 3 ตัว เข้ากับตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์"...ดูในรูป PIC#9_06 ประกอบ
  • ประกอบตัว "มอเตอร์พัดลมแอร์" เข้ากับตัวโครง โดยใช้ไขควงแบนช่วยกดตัวลูกยาง ในตำแหน่ง [ A ] ให้เข้าล็อก
  • ตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งก่อนในไปประกอบเข้ากับรถ

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ถอดประกอบคานหลัง SRI

Introduction: การตั้งคานหลัง

1. วัดความสูงคานหลังเดิมเพื่อ
- ทราบระยะจริงและต้องการปรับเพิ่ม
- ตรวจสอบความต่างด้านซ้าย และด้านขวาไม่ควรต่างกันเกิน 10 mm

2. สำรวจรอย Mark ที่ Torsion Bar ทั้ง 2 เส้น รวมไปถึง เหล็กกันโครง ( Anti roll bar ) แต่ถ้าไม่พบ รอย Mark ให้ ใช้ Phuncing mark หรือ อะไรก็ได้ ตอก เพื่อใช้สังเกตและตรวจสอบความถูกต้องของการประกอบ

3. เราสามารถปรับความสูงของรถตามความต้องการ โดยการ ปรับ เฟือง Splines 1 เฟือง จะทำให้ความสูงเปลี่ยน 3 mm ในการปรับเปลี่ยนการประกอบของ เฟือง Splines ควรใช้อุปกรณ์ช่วย Dummy Shock absorber ( จากรูปคิดว่าจะใช้ตัวเร่งในงานเชื่อมโครงสร้างเหล็กมา Modify เอาละครับ )

การปรับคานหลัง ขึ้นหรือลง ให้สังเกตุการเปลี่ยนตำแหน่ง mark ตามรูปด้านล่างครับ

4.เครื่องมือที่ใช้ในการถอดประกอบคานหลัง
- 0316 A : Slide Hammer Puller
- 0908 Q : Adapter
- 0908 V : Dummy Shock absorber
- 0911 : Suspension compression tool

5.
-
ถอดเหล็กกันโครงออกเป็นอันดับแรก แล้วใช้ Jack ยกรถขึ้น
-
ถอดโช็คหลังออกแล้วใส่ตัว Dummy Shock Absorber แทน ( จากที่อ่านระยะมาตรฐานของ Dummy Shock Absorber อยู่ที่ 328 มม ) แล้วคลายยืดออก 1/2 รอบเพื่อให้ถอด ทอร์ชั้นบาร์ได้ง่าย

6.ถอดน็อตยึด Break Bracket , ปลดสายเบรคมือ และ ปะกับ หัวทอร์ชั้นบาร์ แล้วถอด ทอร์ชั้นบาร์ ออก ( การถอดอะหลั่ยทุกชิ้นอย่าลืมทำมาร์คด้วยนะครับ )

7.
- ก่อนถอด Dummy Shock Absorber ออกมาเพื่อตั้งระยะใหม่ให้หาท่อนไม้หนุน คุมล้อก่อน ( จะได้ง่ายต่อการปรับระยะและใส่ Dummy Shock Absorber หลังปรับความยาวแล้ว
-
ตั้งระยะความสูงของคานหลังใหม่ 1 เฟือง Spline เท่ากับ 3 มม. ( จากคู่มือ ตัว Dummy Shock Absorber เกลียวมีระยะพิต 1.5 mm ถ้าต้องการยกขึ้น 15 มม จะต้องยึด Dummy Shock Absorber ออก 7.5 มมหรือหมุนเกลียว 5 รอบ )
-
หลังจากปรับความยาวของ Dummy Shock Absorber แล้ว ให้ประกอบเข้ากลับหูยึดโช็คเหมือนเดิม


8.
-
ทำความสะอาด ร่องเฟือง Spline ทั้งที่ ทอร์ชั้นบาร์ และที่ปีกนกหลัง ถ้าพบรอยเยินหรือสนิม ก็ขัดออกด้วยกระดาษทราย หรือใช้ตะไบสามเหลี่ยมตะไบรอยเยินออก หลังจากนั้น ทาด้วยจารบี ESSO NORVA 275 ( ส่วนตัวคงใช้จารบีของ PPT ที่มีเนื้อสีน้ำเงินนะครับ )
-
ขอควรระวังทอร์ชั้นบาร์
+
ด้านซ้าย มีแถบสีสองแถบ
+
ด้านขวา มีแถบสีหนึ่งแถบ
+
เฟือง Spline ด้านหนึ่ง 30 ฟันซึ่งจะมีความโตเล็กกว่า อีกด้านหนึ่งซึ่งมีเฟือง 32 ฟัน
ระวังประกอบผิดด้านนะครับ ให้สังเกตุ แถบสีที่ Mark บน ทอร์ชั้นบาร์ครับ

9.การประกอบทอร์ชั้นบาร์
-
สามารถสอดผ่านด้านเล็ก หรือ ด้านที่มีเฟือง 30 ฟัน ผ่าน รูของเฟือง 32 ฟันได้เลย
-
ขณะจะประกอบเฟืองเข้าด้วยกันนั้นให้สังเกตุ Mark เดิมให้ดี ถ้าเป็นการเพิ่มหรือลดความสูงจำนวนเฟืองที่เปลี่ยนไปต้องเท่ากัน
-
การปรับ Dummy Shock Absorber เพื่อหาตำแหน่งเฟืองสามารถทำได้ แต่ Dummy Shock Absorber ทั้ง 2 ด้านต้องต่างกันไม่เกิน 10 มม
-
ตอก ทอร์ชั้นบาร์ กลับเข้า ปีกนกหลังและประกอบ น็อ๖และประกับเข้าต่ำแหน่งเดิม

10 การประกอบสว่นต่างของคานหลังตามลำดับ
-
หลังจากประกอบทอร์ชั้นบาร์เรียบร้อยแล้ว ใหประกอบชุดเบรค
-
ถอด Dummy Shock Absorber แล้วใส่ Shock Absorber แทน
-
ประกอบ เหล็กกันโคลง
-
ประกอบ ล้อ

11
หลังจากงานประกอบเรียบร้อยแล้วให้เอารถลงจากแม่แรงแล้วตรวจสอบความสูงตามข้อ ( 1 )อีกครั้งหนึ่ง


ข้อมูล เพิ่มเติมครับเมื่่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นำ 405 GRI ไปเปลี่ยน Torsion Bar เป็นของ MI16สาเหตุที่เปลี่ยนเพราะว่า Torsion Bar เดิมล้าตัวแล้ว....ความสูงรถเดิมก่อนเปลี่ยน ประมาณ 63~64 CM ผมคิดว่ากำลังดี(  ด้านหน้าผมใส่สปริงโหลดไว้ครับ )แต่ว่าเมื่อรถวิ่งผ่านเนิน หรือลงสะพาน ด้านท้ายมีอาการยุบตัวมากไปนิดหนึ่งนะครับ....เลยพยายามหา Torsion Bar ของ MI16 มาใส่ มีผลของระยะตั้งปีกนกหลัง (Dummy Shock Absorber )ดังนี้ครับ
X = 295 มม ความสูงจากพื้นถึงขอบซุ้มล้อ ด้านซ้าย 67.5 CM ด้านขวา 68 CM.........เป็นระยะเดิมของรถ เมื่อถอด Torsion เดิมออกครับ แล้วใส่ Torsion Bar MI16 เลย
X = 290 มม ความสูงจากพื้นถึงขอบซุ้มล้อ ด้านซ้าย 67.5 CM ด้านขวา 68 CM.........ไม่มีผลต่อความสูงครับ
X = 283 มม. ความสูงจากพื้นถึงขอบซุ้มล้อ ด้านซ้าย 63 CM ด้านขวา 63.5 CM.........เป็นความสูงที่ต้องการครับ
เงืื่อนไขสัมภาระในรถ......ถังโดนัท มีแก๊สประมาณครึ่งถัง และ ยางอะไหล่ 1 เส้น
แต่สำหรับรถที่ใช้ Torsion Bar เดิมแล้วต้องการปรับความสูง อาจจะต้องตั้ง
X = 315 มม ครับ
ให้เป็นข้อมูลครับ.......