วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ (Coolant Temperature Sensor: CTS)

เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์ (Coolant Temperature Sensor: CTS)
Coolant Temperature Sensor มีหน้าที่คอยตรวจวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็นในเครื่องยนต์ แล้วส่งสัญญาณเป็นแรงดันไฟฟ้า (Volt) ให้ ECU ใช้ เป็นข้อมูลในการประเมินผลเพื่อปรับเปลี่ยนระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อ เพลิงเป็นงานหลัก โดยเมื่อเครื่องยนต์มีอุณหภูมิต่ำก็จะเพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อ เพลิงให้นานขึ้น
การทำงานของอุปกรณ์นี้ใช้หลักการเดียวกันกับ Inlet Air Temperature Sensor แต่ทำให้อยู่ในโครงสร้างที่แข็งแรงทนทานกว่ามาก
Coolant Temperature Sensor นับเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญมากต่อการทำงานของ ระบบควบคุมเครื่องยนต์ - Engine Management Systems (EMS) เพราะ ECU จะใช้สัญญาณนี้ไปประมวลผลและส่งสัญญาณออกไปควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ในระบบ อื่นๆอีกหลายอย่างเช่น
- เพิ่มระยะเวลาในการฉีดเพื่อให้ได้ส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงหนาขึ้นในช่วง การอุ่นเครื่องยนต์จนกว่าจะถึงอุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์
- ให้ปิด EGR Valve ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้รอบเดินเบาไม่เรียบเครื่องยนต์สั่นไม่มีกำลัง
- ให้ปิด Purge Valve ไม่ให้ไอน้ำน้ำมันเชื้อเพลิงในกระป๋องถ่านเข้าห้องเผาไหม้ ในช่วงการอุ่นเครื่อง
- บอกให้ ECU คงไว้ซึ่งอัตราส่วนผสมน้ำมันที่หนา ไม่ต้องสนใจสัญญาณที่ได้จาก Oxygen Sensor จนกว่าจะถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์
- ให้พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำทำงานที่ความเร็วรอบต่างๆกันเมื่อถึงอุณหภูมิ ที่กำหนด ซึ่งมีสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการเกิด Overheat กับเครื่องยนต์
- ให้ชะลอการ Lock up ในชุด Torque Converter ของเกียร์อัตโนมัติไว้ก่อน ในช่วงการอุ่นเครื่องยนต์ เพื่อการลดภาระที่เกิดจากชุดเกียร์ไปสู่เครื่องยนต์
- ส่งข้อมูลให้เกจวัดอุณหภูมิแสดงค่าที่หน้าปัดแสดงผล

ทั้ง นี้เพื่อเพิ่มสมรรถนะของเครื่องยนต์ขณะใช้รอบเดินเบาและการขับขี่ในช่วงก่อน ถึงอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์ ด้วย Coolant Temperature Sensor มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการทำงานหลายอย่าง ดังนั้นถ้า Sensor นี้ ทำงานบกพร่องจะทำให้เกิดปัญหากับสมรรถนะของเครื่องยนต์ในช่วงการอุ่น เครื่องและระบบควบคุมมลภาวะ รวมถึงการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้น และแม้แต่วาล์วน้ำ (Thermostat) ที่เปิดตลอดเวลาก็จะส่งผลให้เครื่องยนต์ร้อนช้าขึ้นด้วยเข้ามาร่วมเป็น ปัจจัยเสริมของปัญหานี้ด้วยเช่นกัน

จะมี Sensor ที่เกี่ยวข้องกับ อุณภูมิน้ำ อยู่ 3 ตัว ดังนี้

Coolant Sensor ขั้วสีเขียว ทำงานร่วมกับ Engine ECU มี 2 ขั้ว ทีอุณหภูมิห้อง มีค่าความต้านทานวัดได้ 1.6 K Ohm และลดเหลือประมาณ 0.5 K Ohm เมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประมาณ 90 ํC

Temperature switch/Sensor ขั้วสีน้ำตาล ทำหน้าที่ ควบคุมการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ มี 2 ขั้ว ทีอุณหภูมิห้อง มีค่าความต้านทานวัดได้ 1.9 K Ohm และเพิ่มขึ้นประมาณ 2.7 K Ohm เมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประมาณ 90 ํC

Temperature probe/Sensor ขั้วสีน้ำเงิน ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปเพื่อแสดงระดับอุณหภูมิน้ำที่หน้าปัด มี 1 ขั้ว ทีอุณหภูมิห้อง มีค่าความต้านทานวัดได้ 2.16 K Ohm และลดเหลือประมาณ 0.6 K Ohm เมื่อ อุณหภูมิสูงขึ้นเป็นประมาณ 90 ํC





3 ความคิดเห็น:

  1. รถผมเครื่องดับพอที้งไว้นานสตาร์ตติดเหมือนเดิมพอวิ่งไปสักพักความร้อนขึ้นก็จะดับสตาร์ตไม่ติดต้องปล่อยให้เครื่องเย็นก่อเซ็นเซอร์ป่าวคับ

    ตอบลบ